เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 5 "ทัศนศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา"

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2553

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา หรือที่นิยมเรียกกันว่า พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางเเสน เป็นสถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งอยู่ในเนื้อที่ของมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลเเสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีชื่อเสียงเเห่งหนึ่งของประเทศไทยเเละเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญเเห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี www.aquariumthailand.com/bangsae...nce.html

ประวัติ
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา พัฒนามาจาก"พิพิธภัณฑ์สัตว์เเละสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม"ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2512อโดยคณะอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเเสน เเละนิสิตอีกจำนวนหนึ่งโดย ดร.บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครูเเละอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว

พิพิธภัณฑ์สัตว์เเละสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการตั้งเเต่เดือนธันวาคม พ.ศง2513 เเละในวันที่ 26 ตุลาคม 2519 มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิดรฒ บางเเสน ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์สัตว์เเละสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มwww.aquariumthailand.com/bangsae...nce.html


พิพิธภัณฑ์สัตว์เเละสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนไม่สามารถขยายออกไปได้อีก ทั้งนี้เนื่องจากขนาดตัวอาคารมีขนาดจำกัดเเละไม่ได้ออกเเบบไว้สำหรับการนี้โดยตรง เพื่อเป็นการขยายกิจการของพิพิธภัณฑ์เเละสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มให้กว้างขว้างยิ่งขึ้นทางมหาวิทยาลัยโดยการนำของ ดร.ทวี หอมชง เเละคณะ ได้จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคม 2535 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือเเบบให้เปล่าโดยการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นมูลค่า 230 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างในวันที่1 ธันวามคม 2524 ณ บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ วิทยาเขตบางเเสน ในเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ สมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่23 กรกฎาคม 2525 การก่อสร้างเเล้วเสร็จ เเละพิธีมอบให้เเก่มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่1 มีนาคม 2526

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2527 จากนั้นศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลได้จัดทำโครงการเพื่อยกฐานะเป็นสถาบัน เเละได้รับอนุมัติให้เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 เเละเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเเละสถานที่ให้องค์ความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาจนถึงปัจจุบัน

การจัดเเสดง
ส่วนการจัดเเสดงถูกเเบ่งออกเป็น 2 ชั้นใหญ่ๆ โดยบริเวณภายนอกสถาบัน จะมีการเเสดงโครงกระดูกวาฬเเกลบ(Balaenoptear edeni) ที่ตายในเขตน่านน้ำไทยชั้นเเรก มีการเเสดงสัตว์อาศัยบริเวณชายฝั่งที่มีปรากฎการณ์ น้ำขึ้น น้ำลง เช่น เเมงดาทะเล ปลิงทะเล หอยเม่น ดาวทะเล ปูเสฉวน ดอกไม้ทะเล เป็นต้น ต่อมาจึงเป็นส่วนของปลาในเเนวปะการังซึ่งอาศัยกันอย่างเกื้อกูลกัน เช่น ปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล ต่อมาจึงป็นส่วนของสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ปลาเศรษฐกิจ ปลามีพิษ เเละปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรเเละบ่อปลาฉลาม โดยเฉพาะในส่วนของปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรถือว่าได้เป็นจุดสนใจของสถาบันเเห่งนี้มาโดยตลอด เพราะมีการเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ในตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มีน้ำจุถึง 200 ตัน ที่ใช้ความหนาของกระจกถึงหนึ่งคืบ เช่นปลาหมอทะเล(Epinephelus lanceolatus) ปลาฉลาม ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดสร้างที่อยู่ใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิมซึ่งสมารถจุน้ำได้ถึง1000ตัน เเล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2552 เเละเปิดให้เข้าชมได้ในวันที่5 ธันวาคม ปีเดียวกันwww.aquariumthailand.com/bangsae...nce.html



ชั้นบนจะเป็นส่วนพิพิธภัณฑ์ทางทะเล ช่วงเเรกเป็นการเเสดงนิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช เกี่ยวกับการพระราชกรณียกิจทางด้สนการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติ เเละด้านวิทยาศาสตร์การประมง ต่อมาเป็นการเเสดงเรื่องราวอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น เเพลงก์ตอน ฟองน้ำ หมึก เป็นต้น ต่อมาจึงเป็นส่วนของนิเวศวิทยาทางทะเลเเละสัตว์ทะเลที่มีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตคนไทย มีการจัดเเสดงเครื่องมือที่ใช้ในการประมงเเละเรือประมง ส่วนสุดท้ายเป็นพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย จัดเเสดงเปลือกหอยชนดต่างๆๆไว้มากมาย ทั้งเเปลกๆเเละสวยงาม




ความรู้สึกวันนี้

"จากการเข้าชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ผมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทะเลมาขึ้นกว่าเดิม ทำให้รู้ถึงวิกฤตการณ์ของท้องทะเลไทยในสภาวะการณ์ปัจจุบัน รู้จักปลาชนิดใหม่ๆหลากหลายชนิด ได้เปิดหูเปิดตาได้เห็นสิ่งใหม่ๆรอบตัว เเละยังถือว่าเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นครั้งเเรกในมหาวิทยาลัยบูรพาเเห่งนี้อีกด้วย เป็นครั้งเเรกที่ได้รับความรู้ ความประทับใจ เเละยังมีความทรงจำดีๆไว้มากมาย ต้องขอขอบคุณพี่วิทยากรของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เเละ อาจารย์ว่าที่เรือตรี ดร. อุทิศ ที่ได้พาออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียน วันนี้เป็นวันที่สนุกมากมาย อีกวันหนึ่งของชีวิตมหาวิทยาลัย "









วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 4 " องค์ประกอบของการสื่อสาร"

จันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ภาพจาก
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEggwrjPyMcd2_IwkJbBMXmsxq_tjKLXWvzcBu5cURsScO35xvg4oFEm8AUZnQJFmUAuGExkezUmz4ZMLLY4CX3S44qwib5zMj-r4j56k3Uo0E1gDrzm5oXNNq-YreZNjBF3cTpLPMtDOpLT/s320/Computer130.jpg

องค์ประกอบของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
1. ผู้ส่งสาร (Source)

2. สาร (Massage)
3. สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel)
4. ผู้รับ (Receiver) 5. ผล (Effect) 6. ผลย้อนกลับ (Feedback)

ให้นิสิตอธิบายถึงองค์ประกอบของการ สื่อสารกับการจัดการเรียนการสอนในวันนี้
1. ผู้ส่งสาร (Source) : คุณครู/อาจารย์ ว่าที่เรือตรีดร.อุทิศ บำรุงชีพ
2. สาร (Massage) : หัวข้อความรู้เรื่อง ทฤษฎีการสื่อสาร
3. สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel) : เครื่องขยายเสียง , โปรแกรม Power Point, Projecter , Computer
4. ผู้รับ (Receiver) : นิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา5. ผล (Effect) : นิสิตมีความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้น ๆ และสามารถทำงานได้6. ผลย้อนกลับ (Feedback) : นิสิตนำความรู้ไปใช้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้อย่างถูกต้องและชำนาญ
ความรู้สึกวันนี้ ก็เรื่อยๆอ่าครับ สนุกดีไม่เครียด เรียนรู้เรื่อง ชอบๆ ครับ ไม่ยากมาก อาจารย์ใจดีครับ