เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 12 "ศึกษานอกสถานที่ ณ สำนักคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยบูรพา"

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553

ได้รับความรู้ เเละประสบการณ์ใหม่ๆ มากมาย ทั้งที่ไม่เคยเจอเเละรู้เเล้วก็รู้ยิ่งขึ้น เเละยังได้รับการบรรยายจากพี่ๆเจ้าหน้าที่ของสำนักคอมพิวเตอร์ในเรื่อง
1. Video Conference เป็นการสื่อสารผ่านทางไกล ซึ่งทั้งผู้ส่งสารเเละผู้รับสาร สามารถได้ยินทั้งเสียงเเละเห็นทั้งภาพของฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นการสื่อสารเเบบใหม่ที่เพิ่มสีสัน ความรู้สึกในการสื่อสารได้เสมือนอยู่ใกล้กันเเม้อยู่ไกลเป็นเเสนๆกิโลเมตร
2. Video Ondemand เป็นการเรียนรู้ผ่านวีดีโอที่บันทึกไว้ สามารถเรียกดูเมื่อไหร่เเละกี่รอบก็ได้ เเละยังสามารถเรียกดูช่วงเฉพาะที่ต้องการเท่านั้นได้ด้วย ทำให้การเรียนรู้เป็นไปด้วยความรวดเร็วเเละตรงจุดประสงค์มากยิ่งขึ้น

thaimisc.pukpik.com
3. การจัดทำ e-Learnind เป็นการช่วยการเรียนการสอนของนักศึกษา นิสิต เเละอาจารย์ สามารถอัพโหลดข้อมูลเพื่อให้นิสิตเข้าไปหาข้อมูลทบทวนบทเรียนได้ เเล้วยังสามารถสร้างเป็นเเบบฝึกหัดเพื่อให้นิสิตเข้าไปฝึกทำเเบบทดสอบได้
4. เป็นผู้ให้บริการ Wireless Lan ทั้งหมดของบริเวณมหาวิทยาลัย ทำให้นิสิตสามารถใช้อินเตอร์เน็ต ได้ครอบคลุมเเละรวดเร็วทั้งมหาวิทยาลัย เป็นการพัฒนาระบบสื่อสารของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี
5. ให้บริการสถานี วิทยุOnline เพื่อกระจายข่าวสารทั่วไปให้นิสิตที่สนใจเข้าฟังได้รับรู้ เเละยังสามารถโทรไปเพื่อพูดคุยเเละขอเพลงกับทาง Dj ได้ด้วย Dj ก็มาจากนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชานวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษา เเละ นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เอก การสื่อสารทางการกีฬา ซึ่งจะเข้ามารับหน้าที่ด้สนนี้รวมทั้งเรียนไปด้วย


ความรู้สึกวันนี้ เป็นอีกวันเเล้วครับที่ตื่นเต้นเเละสนุกเพราะได้ออกไปข้างนอกห้องเรียนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในสำนักคอมฯ ทั้งวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ วีดีโอออนดีมาน วิทยุออนไลท์ เเละที่สำคัญ ผมได้เข้าไปนั่งพูดคุยกับดีเจในห้องอัด เเบบสดๆกันด้วยเป็นประสบการณ์ที่ดีเเละหาที่ไหนไม่ได้ทีเดียว ใกล้จะปิดคอร์สเเล้ว เศร้า ไม่อยากปิดเลยอิอิ สนุกมากที่ได้เรียน


วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 11 "กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา"

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2553

3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
- พ.ร.บ.การศึกษาเเห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)
- พ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
-พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
-พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544


ซึ่งการศึกษาไทยเเบ่งออกเป็ย 3 เเบบได้เเก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาสัย

ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ระบุไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาเเห่งชาติ พ.ศ.2542(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545) เทคโนโลยีการศึกษาเป็นหมวดหนึ่งในทั้งหมด 9 หมวด ของพ.ร.บ. การศึกษาเเห่งชาติ พ.ศ. 25542 เเละอยู่ในหมวดที่ 9 ซึ่งว่าด้วยขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษาทั้งหมดครอบคลุมทั้งการจัดรูปเเบบการสอน สื่อการสอน การออกเเบบการเรียนการสอน เเละการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีช่วยสอน เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอน


พ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

- เป็นการกล่าวถึงการใช้คอมพิวเตอร์ไปในทางที่ผิด ทั้งเผยเเพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ลามกอนาจาร ทำความเสียหายต่อชื่อเสียงของบุคคล หน่วยงานใดก็ตาม เเละการเข้าไปทำลาย ขโมยข้อมูลต่างๆของบุคคลอื่นโดยมิได้รับอนุญาติ ให้เกิดความไม่มั่นคงต่อรัฐ สังคม ประเทสชาติ จึงบัญญัติ กฎหมายขึ้น ซึ่งมีบทลงโทษระบุไว้ชัดเจน


www.thairath.co.th/content/tech/5330


พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
-ว่าด้วยการให้ความคุ้มครองเเก่งานที่ทำเสร็จเเล้วทุกงานโดยไม่จำเป็นต้องเเสดงหรือจดลิขสิทธิ์เป็นการคุ้มครองโดยอัตโนมัติ
- ห้ามละเมิด ทำซ้ำหรือดัดเเปลงส่วนหนึ่งส่วนใด เผยเเหร่โดยมิได้รับอนุญาติ
www.chaoprayanews.com/tag/%25E0%...B9%258C/




โปรเเกรม Mind manager เป็นโปรเเกรมไว้สำหรับสร้าง เเผนผังความคิด สำหรับงานต่างๆที่ต้องการสร้างผังความคิด อาทิเช่น สรุปขอบข่ายงาน สรุปรายงานการประชุม สรุปเนื้อหาต่างๆ เป็นโปรเเกรมที่ทำให้การสร้างผังความคิดง่ายขึ้น โดยมีรูปเเบบให้เลือกมากมาย เเละยังสามารถตกเเต่งด้วยรูปภาพที่มีมาให้หรือจะอัพโหลดจากที่ต่างๆมาก็ได้ เป็นโปรเเกรมที่น่าจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เเละรวดเร็วยิ่งขึ้น

www.cad-reviews.com/20020112-min...w-1.html

ความรู้สึกวันนี้ ผมได้รับความรู้มากมายที่ยังไม่รู้ ที่เราเคยทำผิดกฎหมายด้วยซ้ำไป ทำให้ต่อไปนี้จะใช้คอมพิวเตอร์ด้วยความระมัดระวังมากขึ้น เเละสนุกกับกฎหมายที่ออกมากมาย อิอิอิอิ เเละโปรเเกรม Mindmanager เป็นโปรเเกมที่ช่วยให้การทำงานของผมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเเละยังทำให้การทำงานง่ายเเละรวกเร็วมากยิ่งขึ้นด้วย อิอิ

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 10 "Vido conference เเละ เเนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา"

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2553

การสร้างระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์
วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่ใช้กันอยู่ มีหลายระดับ หลายเบบเเละหลายเทคนิค วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ทั่วไปมีหลักการที่จะต้องลดขนาดภาพเเละเสียงให้เหลือเพียงไม่มากเเล้วส่งในสายสัญญาณที่มีเเถบกว้างไม่มากนัก ช่องสื่อสารใช้เเบบช่องสื่อสารสองทิศทาง (ฟลูดูเพล็กซ์) ซึ่งมีความเร็วจำกัด ซึ่งมีอุปกรณ์เข้ารหัสเรียกว่า โคเด็กซ์ เป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณที่ส่งต่อ
อุปกรณ์ประกอบที่สำคัญในระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ มี
- กล้องโทรทัศน์ ปรับส่วนไปมา ซูมกล้อง
- จอมอนิเตอร์ เเบ่งจอภาพดูปลายทางด้านใดด้านหนึ่ง
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมระบบสื่อสารควบคุมเสียง ภาพ เเหล่งกระจายไฟเเละอินเตอร์เฟส ber5.com/2009/06/19/4392/
- เเป้นควบคุมระยะไกล เพื่อควบคุมไปอีกปลายทางด้านหนึ่ง
กล้องโทรทัศน์ เป็นกล้องวีดีโอในการจับภาพ มีระบบเซอร์โวควบคุมมาจากระยะไกลให้ปรับมุมเงย มุมก้ม เลื่อนซ้ายขวาเเละซูมภาพ ได้
จอมอนิเตอร์ เป็นจอที่ใช้ระบบPAL หรือNTSC ภาพที่ปรากฎเป็นระบบรวมสัญญาณเพื่อเเบ่งเป็นจอภาพเล็กๆ เพื่อดูปลายทางเเต่ล ะด้านหรือภาพของตนเอง ระบบจอภาพเป็นจอใหญ่ขยายเป็นจอใหญ่ขนาดหลายร้อยนิ้วได้
อุปกรณือิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุปกรณที่เกี่ยวกับการจัดการเรื่องเสียง การจัดการภาพเเละระบบสื่อสาร รวมทั้งตัวโคเด็กที่ใช้ในการบีบอัดสัญญาณตลอดจนเเหล่งจ่ายไฟเลี้ยง
เเป้นควบคุม เป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมระบบ เช่น ควบคุมปรับมุมกล้องที่ปลายทางระยะห่างไกล การเลือกติดต่อระยะไกล ปรับเสียง ปรับการสื่อสาร ทั้งหมด




เเนวโน้มการวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา ยึดถือความเป็นเทคโนโลยีการศึกษา

หลักการเทคโนโลยีการศึกษา
เป็นนักออกเเบบเเละจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างคนสู่คน โดยใช้วิธีระบบ ออกเเบบการเรียนการสอนเเละสภาพเเวดล้อมทางการเรียน เป็นภารกิจสูงสุดของนักเทคโนโลยีการศึกษา

ขอบข่ายงาน
1 การออกเเบบ ออกเเบบทั้งสื่อการสอน รูปเเบบการเรียน
2 การพัฒนา พัฒนาระบบการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3 การใช้ ใช้งานระบบ วัสดุ อุปกรณ์ อย่างมีประสิทธิภาพ เเละถ่ายทอดสู่คนทั่วไปได้
4 การจัดการ มีการจัดการกับระบบการเรียนการสอน ระบบงาน ได้อย่างมีประสิธิภาพ
5 การประเมิน สามรถประเมินผลงาน ขอบข่ายงานได้อย่างดี เเละนำไปเเก้ไขปรับปรุงใหม่ได้


วิจัยเป็นกระบวนการที่อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เเละวิธีระบบในการเเสวงหาคำตอบให้เเก่ปัญหาหรือคำถามต่างๆเพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือ กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเเสวงหาเเละสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งอยู่บนกรอบเเนวคิดในศาสตร์เเละขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา จึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการศึกษา
pter-tab.blogspot.com/2009/05/bl..._22.html

ความรู้สึกวันนี้ สนุกอ่ะครับ ได้รู้เกี่ยวกับการสื่อสารผ่านวิดีโอทางไกล สุดยอด มันทำให้โลกอันกว้างใหญ่เเคบลงถนัดตา อิอิ การสื่อสารประเภทนี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากกับการศึกษาในดินเเดนห่างไกล เเละการวิจัยก็เป็นความรู้ที่จะใช้ในการวิจัยในปีสูงๆ ต่อไปได้เป็นอย่างดี อาจดูน่าเบื่อบ้างเเต่ก็ต้องขอบอกว่าได้ความรู้เเละประสบการณ์ที่สดใหม่จริงๆ งิงิงิงิงิงิ

สัปดาห์ที่ 9 "การสอบกลางภาค"

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2553

การสอบกลางภาค วิชานี้ น่าตื่นเต้นอีกเเล้ว คะเเนนเต็ม 30 คะเเนน เพราะไม่รู้ว่าจะเจอข้อสอบเเบบไหน ยากหรือง่าย เเต่การสอบก็ผ่านไปด้วยดี มีทั้งผู้ที่สมหวัง เเละผิดหวัง อย่างไรก็ตาม การสอบครั้งนี้ยังไม่เป็นที่สิ้นสุด การทำงาน ตั้งใจเรียน เเละส่งงานตามเวลา เเละที่สำคัญคือ การสอบปลายภาค ยังรอเพื่อนๆทุกคนอยู่ สู้ต่อไปเพื่ออนาคตของตัวเรา พวกเราทำได้ จงเชื่อมั่น เเล้วลงมือทำ อิอิอิ


education.deksiam.in.th/view/629

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 8 "การสืบค้นนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์เพื่อการศึกษา"

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2553

นวัตกรรมต่างๆ มีคนคิดมากมายเเต่นวัตกรรมเพื่อการศึกษายังไม่เป็นที่เเพร่หลายอย่างที่ควร นวัตกรรมหรือสิ่งประดษฐ์เพื่อการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การศึกษาเรียนรู้ต่างมีประสิทธิภาพเเละคุณภาพมากยิ่งขึ้นจากเดิม เเละยังเป็นจุดประเด็นความคิดต่างๆของคนรุ่นใหม่ในการเรียนรู้คิดค้นสิ่งๆมากมาย
นวัตกรรมทางการศึกษาจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้การสอน รวมไปถึงการสื่อสารต่างๆให้มีศักยภาพมากขึ้น สิ่งเหล้านี้ทำให้มีคนมากมายที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆขึ้นมากมายทั่วโลก สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนาของโลกยุคอนาคต

Global Municipal Wi-Fi การเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตไร้สายก็เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่มีการคิดค้นเเละพยายามประดิษฐ์ขึ้น เพื่อการติอต่อสื่อสารที่ไม่มีขีดจำกัดของคนทั่วทุกมุมโลก นวัตกรรมนี้จะทำให้ในโลกนี้เกิดสัญญาณอินเตอร์เน็ตทั่วโลกที่สามารถเชื่อมต่อกันภายในโลก เเละสิ่งนี้จะสามารถส่งสัญญาณคลื่นความถี่ทะลุ อากาศ กำเเพง น้ำ หรือสิ่งต่างๆ ทำให้อุปกรณ์สื่อสารสามรถติดต่อกันได้ ไม่มีขีดจำกัดใดเลย http://www.igi-global.com/Bookstore/Article.aspx?TitleId=43559 raiwan.com/2007/12/22/1659/



ความรู้สึกวันนี้
มีความคิดเเปลกๆจากเพื่อนๆ เเละได้คิดในสิ่งที่ยังไม่เคยคิด เช่น การคิดประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ต่างๆเพื่อการศึกษา ที่มีคุณค่าเเละเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

สัปดาห์ที่ 7 "จิตวิทยาเกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อ"

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2553

จิตวิทยามีควาสำคัญในชีวิตคนเราอย่างมากมาย เป็นตัวกำหนดว่าเราจะเดินไปในทิศทางไหน ทำให้จิตวิทยาเเละผู้สอนจิตวิทยามีบทบาทสำคัญในการที่จะทำให้ คนทั่วไปมีจิตวิทยาที่ดี ในสิ่งที่ถูกต้องเเละพึงประสงค์

ในการเรียนการสอนต่างๆ มักมีกานำสื่อมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ในมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้สื่อการเรียนการสอนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียน ในยุคปัจจุบัน ในโลกยุคปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีส่วนเข้ามามีความสำคัญอย่างมากกับชีวิตคนในยุคนี้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นปัจจัยที่5 ไปเเล้วก็ได้palungjit.com/feature/showphoto....


ดังนั้นการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันจึงจำเป็นที่จะปรับให้เข้ากับการเรียนรู้ของเด็กยุคปัจจุบัน ที่มีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างมาก เเต่จิตวิทยาก็ยังจำเป็นต่อการนำเสนอสื่อต่างๆ ที่จะเเอบเเฝงจิตวิทยาเข้าไปมีบทบาทในสื่อเเขนงต่างๆ ที่จะต้องนำเอาหลังทฤษฎีการเรียนรู้ เเรงจูงใจ เเละพัฒนาการ ให้เข้าไปอยู่ในตัวเด็ก ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ52799391 เเละสามรถทำให้เด็กนำหลักไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ http://learners.in.th/blog/jutanun
ความรู้สึกวันนี้
มีความเเปลกใหม่มาก ในเรื่องความรู้ด้านจิตวิทยา เเละ รับรู้ถึงจิตวิทยาต่างๆได้ดียิ่งขึ้น สนุกสนาน ไม่เครียดครับ อิอิอิอิ เเละสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีเยี่ยม

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สัปดาร์ที่ 6 "หลักเเละทฤษฎีศิลปะกับงานเทคโนโลยีการศึกษา"

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม 2553

สื่อวัสดุกราฟิก ....ความหมาย" กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้.........

my.opera.com/dingspy/blog/show.d.../1225954



องค์ประกอบของการสื่อความหมายกราฟิก มีหลายองค์ประกอบด้วยกันดังนี้


: ผู้ส่งสาร (Originator) เป็นผู้เริ่มส่งข่าวสารต่างๆ ไม่เพียงด้วยคำพูด แต่รวมไปถึงสีหน้า ท่าทาง และทัศนะของผู้ส่งสารด้วย

การเปลี่ยนรูปจากความคิด หรือ นามธรรมเป็นคำพูด (Encoding) การแปลงความคิด และความรู้ให้เป็นคำพูด, รูปภาพ, สัญลักษณ์, ท่าทาง หรืออื่นๆที่ผู้รับสามารถเข้าใจความหมายได้

การส่งสาร (Transmission) ส่งให้เหมาะสมกับสารที่ได้เปลี่ยนรูปผ่านสื่อ (Media) หรือช่องทางการส่ง (Channels) การส่งสารของมนุษย์มี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ คลื่นแสงกับคลื่นเสียง ซึ่งรับรู้ได้ทางหู (Audio) ทางตา (Visual) การส่งสารด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนใหญ่จะทำให้เกิดการรับรู้ได้ 2 ด้าน คือ Audio และ Visual เช่นกัน มนุษย์มีการเรียนรู้ และรับรู้ทางการมองเห็น 83% การได้ยิน 11% และที่เหลือเป็นกลิ่น, รส และสัมผัส my.opera.com/dingspy/blog/show.d.../1225954

ตัวสาร (Message) คือ เนื้อหาของสารที่ต้องการผู้รับสารได้รับ และนำมาเปลี่ยนรูป (Encoding) ให้พร้อมในการส่งต่อหรือถ่ายทอด (Transmission) ไปสู่ผู้เรียนhttp://www.scribd.com/doc/








ความรู้สึกวันนี้
วันนี้ก้อ มีหลากหลายความรู้สึกนะครับ ทั้งน่าตื่นเต้น น่างง น่ากลัวทำไม่ได้ อิอิอิ หลากหลาย เเต่ต้องใช้สมาธิในการเรียนอย่างมาก ห้ามคุยเลยเเระ กลัวไม่รู้เรื่อง สุกครับวันนี้ มีไรเเปลกใหม่ให้ทามตลอดเวลาเลยยยยยยย คม...

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 5 "ทัศนศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา"

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2553

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา หรือที่นิยมเรียกกันว่า พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางเเสน เป็นสถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งอยู่ในเนื้อที่ของมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลเเสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีชื่อเสียงเเห่งหนึ่งของประเทศไทยเเละเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญเเห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี www.aquariumthailand.com/bangsae...nce.html

ประวัติ
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา พัฒนามาจาก"พิพิธภัณฑ์สัตว์เเละสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม"ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2512อโดยคณะอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเเสน เเละนิสิตอีกจำนวนหนึ่งโดย ดร.บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครูเเละอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว

พิพิธภัณฑ์สัตว์เเละสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการตั้งเเต่เดือนธันวาคม พ.ศง2513 เเละในวันที่ 26 ตุลาคม 2519 มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิดรฒ บางเเสน ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์สัตว์เเละสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มwww.aquariumthailand.com/bangsae...nce.html


พิพิธภัณฑ์สัตว์เเละสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนไม่สามารถขยายออกไปได้อีก ทั้งนี้เนื่องจากขนาดตัวอาคารมีขนาดจำกัดเเละไม่ได้ออกเเบบไว้สำหรับการนี้โดยตรง เพื่อเป็นการขยายกิจการของพิพิธภัณฑ์เเละสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มให้กว้างขว้างยิ่งขึ้นทางมหาวิทยาลัยโดยการนำของ ดร.ทวี หอมชง เเละคณะ ได้จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคม 2535 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือเเบบให้เปล่าโดยการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นมูลค่า 230 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างในวันที่1 ธันวามคม 2524 ณ บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ วิทยาเขตบางเเสน ในเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ สมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่23 กรกฎาคม 2525 การก่อสร้างเเล้วเสร็จ เเละพิธีมอบให้เเก่มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่1 มีนาคม 2526

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2527 จากนั้นศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลได้จัดทำโครงการเพื่อยกฐานะเป็นสถาบัน เเละได้รับอนุมัติให้เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 เเละเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเเละสถานที่ให้องค์ความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาจนถึงปัจจุบัน

การจัดเเสดง
ส่วนการจัดเเสดงถูกเเบ่งออกเป็น 2 ชั้นใหญ่ๆ โดยบริเวณภายนอกสถาบัน จะมีการเเสดงโครงกระดูกวาฬเเกลบ(Balaenoptear edeni) ที่ตายในเขตน่านน้ำไทยชั้นเเรก มีการเเสดงสัตว์อาศัยบริเวณชายฝั่งที่มีปรากฎการณ์ น้ำขึ้น น้ำลง เช่น เเมงดาทะเล ปลิงทะเล หอยเม่น ดาวทะเล ปูเสฉวน ดอกไม้ทะเล เป็นต้น ต่อมาจึงเป็นส่วนของปลาในเเนวปะการังซึ่งอาศัยกันอย่างเกื้อกูลกัน เช่น ปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล ต่อมาจึงป็นส่วนของสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ปลาเศรษฐกิจ ปลามีพิษ เเละปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรเเละบ่อปลาฉลาม โดยเฉพาะในส่วนของปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรถือว่าได้เป็นจุดสนใจของสถาบันเเห่งนี้มาโดยตลอด เพราะมีการเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ในตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มีน้ำจุถึง 200 ตัน ที่ใช้ความหนาของกระจกถึงหนึ่งคืบ เช่นปลาหมอทะเล(Epinephelus lanceolatus) ปลาฉลาม ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดสร้างที่อยู่ใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิมซึ่งสมารถจุน้ำได้ถึง1000ตัน เเล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2552 เเละเปิดให้เข้าชมได้ในวันที่5 ธันวาคม ปีเดียวกันwww.aquariumthailand.com/bangsae...nce.html



ชั้นบนจะเป็นส่วนพิพิธภัณฑ์ทางทะเล ช่วงเเรกเป็นการเเสดงนิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช เกี่ยวกับการพระราชกรณียกิจทางด้สนการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติ เเละด้านวิทยาศาสตร์การประมง ต่อมาเป็นการเเสดงเรื่องราวอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น เเพลงก์ตอน ฟองน้ำ หมึก เป็นต้น ต่อมาจึงเป็นส่วนของนิเวศวิทยาทางทะเลเเละสัตว์ทะเลที่มีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตคนไทย มีการจัดเเสดงเครื่องมือที่ใช้ในการประมงเเละเรือประมง ส่วนสุดท้ายเป็นพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย จัดเเสดงเปลือกหอยชนดต่างๆๆไว้มากมาย ทั้งเเปลกๆเเละสวยงาม




ความรู้สึกวันนี้

"จากการเข้าชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ผมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทะเลมาขึ้นกว่าเดิม ทำให้รู้ถึงวิกฤตการณ์ของท้องทะเลไทยในสภาวะการณ์ปัจจุบัน รู้จักปลาชนิดใหม่ๆหลากหลายชนิด ได้เปิดหูเปิดตาได้เห็นสิ่งใหม่ๆรอบตัว เเละยังถือว่าเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นครั้งเเรกในมหาวิทยาลัยบูรพาเเห่งนี้อีกด้วย เป็นครั้งเเรกที่ได้รับความรู้ ความประทับใจ เเละยังมีความทรงจำดีๆไว้มากมาย ต้องขอขอบคุณพี่วิทยากรของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เเละ อาจารย์ว่าที่เรือตรี ดร. อุทิศ ที่ได้พาออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียน วันนี้เป็นวันที่สนุกมากมาย อีกวันหนึ่งของชีวิตมหาวิทยาลัย "









วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 4 " องค์ประกอบของการสื่อสาร"

จันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ภาพจาก
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEggwrjPyMcd2_IwkJbBMXmsxq_tjKLXWvzcBu5cURsScO35xvg4oFEm8AUZnQJFmUAuGExkezUmz4ZMLLY4CX3S44qwib5zMj-r4j56k3Uo0E1gDrzm5oXNNq-YreZNjBF3cTpLPMtDOpLT/s320/Computer130.jpg

องค์ประกอบของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
1. ผู้ส่งสาร (Source)

2. สาร (Massage)
3. สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel)
4. ผู้รับ (Receiver) 5. ผล (Effect) 6. ผลย้อนกลับ (Feedback)

ให้นิสิตอธิบายถึงองค์ประกอบของการ สื่อสารกับการจัดการเรียนการสอนในวันนี้
1. ผู้ส่งสาร (Source) : คุณครู/อาจารย์ ว่าที่เรือตรีดร.อุทิศ บำรุงชีพ
2. สาร (Massage) : หัวข้อความรู้เรื่อง ทฤษฎีการสื่อสาร
3. สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel) : เครื่องขยายเสียง , โปรแกรม Power Point, Projecter , Computer
4. ผู้รับ (Receiver) : นิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา5. ผล (Effect) : นิสิตมีความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้น ๆ และสามารถทำงานได้6. ผลย้อนกลับ (Feedback) : นิสิตนำความรู้ไปใช้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้อย่างถูกต้องและชำนาญ
ความรู้สึกวันนี้ ก็เรื่อยๆอ่าครับ สนุกดีไม่เครียด เรียนรู้เรื่อง ชอบๆ ครับ ไม่ยากมาก อาจารย์ใจดีครับ

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 3 "พัฒนาสมองด้วยการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านWeblog"

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2553

Blog คืออะไร ?

เมื่อกล่าวถึง Blog หลายๆคน คงพูดทับศัพท์กันไป ว่า "บล็อก" ความหมายคืออะไร? กล่าวสั้นๆ ก็คือเว็บไซต์ หรือเว็บเพจ ซึ่งก็เป็นคำอธิบายกว้างๆ แต่มีผู้ให้นิยามศัพท์คำว่าBlog นี้ต่างๆ กันไป อาทิเช่น
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้คำนิยามคำว่า "บล็อก" ไว้ดังนี้ thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user
www.wirelessinternet.com/corpora...web.html
บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก
web blog คืออะไร หลายคนก็ได้ให้ความหมายสั้นๆว่าเป็นการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่างๆ บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย จากที่ยกตัวอย่างความหมายของคำว่า "บล็อก" มาพอสังเขปจากหลากหลายแนวคิดแล้วนั้น ในส่วนตัวแล้วเห็นก็เห็นด้วยกับคำนิยาม หรือความหมายของBlog ทั้งหมด แต่โดยส่วนตัวนั้นอาจจะเพิ่มเติมในส่วนของบล็อก นั้นเป็นเสมือนเว็บไซต์สำเร็จรูป ที่มีระบบจัดการต่างๆ ได้มากมาย เหมาะสมกับผู้ที่ไม่สามารถพัฒนาเว็บไซต์ได้เอง และ บล็อก ก็ไม่จำกัดความสามารถในการพัฒนาต่อไป แบบไม่มีสิ้นสุด ซึ่งมีทั้งแบบฟรี แบบเสียค่าใช้จ่าย หรือแบบเขียนบล็อก เองหรือ สร้างmuli blog หรืออื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจากนิยามความหมายของคำว่า บล๊อกคืออะไรนั้นคงไม่จำกัดเฉพาะแนวคิดใด แนวคิดถึง ซึ่งก็ยังมีนิยามต่างๆ ในแต่ละมุมของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
iblog.siamhrm.com/content/weblog-คือ/




ประโยชน์ของ Web blog Blog
มีไว้เพื่อตอบสนองตัณหาของเจ้าของ blog ถึงแม้ว่า blog จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายกัน แต่ blog แต่ละแห่งจะมีบุคลิกเฉพาะตัว แตกต่างกันไปเหมือนบุคลิก บาง blog แค่เล่าเรื่องชีวิตประจำวัน บาง blog เกาะติดข่าว บาง blog คุยเรื่องการเมืองหรือปรัชญา จงนั้นอาจแบ่งประโยชน์ได้หลายแบบด้วยกัน ซึ่งอาจจะแจกแจงได้ดัง นี้

1.เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง

2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ
4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น

5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้
6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เช่น http://www.terrystrek.com/
7. โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว ­- สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง
jamaiga.blogspot.com/2008/07/web-blog.html




"นวัตกรรม"

หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย http://portal.in.th/ratree/pages/inno/
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีก
ด้วยgotoknow.org/file/tale_99/view/28027








ความรู้สึกของผมในการเรียนการสอนในวันนี้(14/06/2553)


- การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ มีความท้าทายใหม่ๆ ความสนุก น่าตื่นตาตื่นใจกับประสบการณ์ครั้งใหม่ ที่ไม่เคยได้ลองทำที่ไหนมาก่อน เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ทำงานคอมพิวเตอร์ เล่นweb มากมาย เเละอาจารย์ก็สอนสนุกมากๆ เป็นกันเองกับนิสิต ให้คำปรึกษา ให้คำเเนะนำตลอดเวลา ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความสนุก ความอบอุ่น ไม่เครียด เเละที่สำคัญ ได้เนื้อหาสาระ เเละความรู้ที่หาที่ไหนไม่ได้นอกจากที่นี่ อยากให้อาจารย์สอนสนุก เป็นกันเองเเบบนี้ตลอดไปครับ อิอิอิ



P.Poomrawin

tutorgohome.com

สัปดาห์ที่ 2 ''ชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา''

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2553


ชมภาพยนต์ " ครูบ้านนอก(หนองฮีใหญ่)"

การได้รับชมภาพยนต์เรื่องนี้ทำให้ผมมีมุมมอง เเง่คิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการเป็นครู ซึ่งภาพยนต์ให้ประโยชน์มากมาย เเละสามารถนำเเง่คิดไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยนชน์



เเง่คิดที่ได้จากภาพยนต์เรื่องนี้
1) การมีจิตวิญญาณของความเป็นครู
2) ความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
3) จรรยาบรรณของความเป็นครู
4) ความอดทนต่อเหตุการต่างๆ
5) การรู้รัสามัคคี ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
6) ความกล้าหาญที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง
7) การให้ความสำคัญของการศึกษา เเม้ว่าจะอยู่ในถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ
8) การเรียนรู้เเละปรับตัวให้อยู่ได้ในชุมชนชนบท


"หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหากคนผู้ใดได้ดูภาพยนต์เรื่องนี้เเล้ว จะมีจิตวิญญาณของความเป็นครูมากยิ่งขึ้น"
http://www.clipmass.com/movie/1037272765173340

www.i-casanovy.com/discuz/bbs/vi...tid%3D15




"เทคโนโลยีการศึกษา" คืออะไร.... ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม"




-หมายถึง การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา
www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc -




พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา
ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียวเพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่างโจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรกธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมากสำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง
html http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01007.asp




แนวคิดของสมาคมสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา (Association for Educational Communications and Technology: AECT, 1994)
ได้แบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตาม Seels and Richey ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายใหญ่ และแต่ละขอบข่ายแยกเป็น 4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด 20 ขอบข่าย ดังนี้

1.1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้ 1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้างผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน และ การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน 1.1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน 1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน

1.2 การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ ประกอบด้วย 1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ 1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน 1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย 1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์
1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน 1.3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม 1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ 1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.4 การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย 1.4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน 1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ 1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน
1.4.5 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน
1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ 1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป 1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป
ednet.kku.ac.th/~sumcha/212300/intro4.html

สัปดาห์ที่ 1 "เปิดโลกหลักทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการค้นคว้า IT "

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2553

1.)ความคาดหวังของข้าพเจ้า จากการมาศึกษาต่อสาขาเทคโนโลยีการศึกษา
- มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในรั้วมหาวิทยาลัย
- เรียนในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข
-ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำ วัน
- มีความรู้ความสามารถเมื่อเรียนจบหลักสูตร
- นำความรู้ความสามารถที่ได้จากการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการทำงานจริง
- ทำงานอย่างมีคุณภาพเเละประสิทธิภาพ
- เป็นตัวเเทนของหน่วยงานหรือทีมงานในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

2.)คุณรู้อะไรจากการเข้าสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ในวันเเรก
- รู้ถึงระเบียบของการเข้าใช้บริการของหอสมุด
- รู้ถึงวิธีการเข้าใช้บริการในหอสมุดในเเผนกงานต่างๆ อาทิเช่น การบริการยืม-คืนหนังสือ การใช้ บริการของ คอมพิวเตอร์ของหอสมุด สถานที่การใช้งานต่างๆ การสือค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล การใช้บริการหอสมุดอย่างถูก